วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ว่าด้วยความไม่เท่าเทียมกัน
(ประเด็นจากบอร์ด dek-d.com/board/view/3406943)

จขกท.ได้ตั้งตัวแปรมาสองตัว
เรา(ผู้เขียน)สมมติว่า ชื่อ นายก.กับนายข.
นายก.เป็นขอทานคนหนึ่ง  ส่วนนายข.เป็นนายกของประเทศนี้
โดยเซ็ตติ้งฉากคือ ทั้งสองคนอยู่ในสังคมเดียวกัน

เนื้อเรื่องคือ ตัวละครเอก(ซึ่งเรา)สมมติชื่อ นายอ. 
พูดแสดงความเห็นว่า..
ถ้านายก.ตาย คงไม่มีใครสนใจ นอกจากตำรวจ
แต่หากนายข.ตาย  คนทั้งประเทศจะพากันวิ่งเต้น
(สุดท้ายมาโยงเข้าเรื่องความเท่าเทียม)
พร้อมตัดพ้อว่า ยังจะพูดว่าคนเท่าเทียมอีกรึไง

ถ้าเราจับสาระสำคัญแล้ว มีเพียงบทแสดงความคิดของคนเดียว
จากที่กล่าวมา ในรูปประพจน์ของข้ออ้างและข้อสรุป ได้ดังนี้

A:นายก.เป็นขอทานตาย ไม่มีคนสนใจ
B:นายข.เป็นนายกรัฐมนตรีตาย คนสนใจมาก
C:คนเท่าเทียมกัน เป็นเรื่องเท็จ

AและB เป็นข้ออ้าง  
C เป็นข้อสรุป

หากเป็นเช่นนั้น  การที่มาคนมาสนใจการตายของเรา
ถือเป็นเรื่องพื้นฐานจำเป็นในสังคม ใครที่ไม่ได้รับสิทธิ์นั้น
ย่อมไม่เท่าเทียมบุคคลอื่นในสังคม 

แต่ประเด็นคือ มาก-น้อย  ปริมาณของคนที่มาสนใจซากศพเรา
สามารถบ่งบอกได้ถึงคุณภาพความมีชีวิตของเราจริงหรือ!?!

ใครจะไปรู้  อาจมีคนที่เกลียดนายกมากๆ จนไปด่าทอถึงงานศพ
แบบนั้นเป็นการกระทำที่เราทุกคนสมควรได้รับในงานศพของเราหรือ

เรา(ผู้เขียน)ขอสรุปให้คำกล่าวของนายอ.ไม่สมเหตุสมผล
เพราะความเท่าเทียมของความเป็นคนไม่สามารถชี้วัดได้จากปริมาณคนที่มาใยดีหลังตาย
คือ AและB ไม่เท่ากับ C

พิจารณาจากข้ออ้างและข้อสรุปอีกครั้ง โดยแทนที่นายก.เป็นเพื่อนสมัยอนุบาล
และนายข.เป็นเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย
A:นายก.เป็นเพื่อนสมัยอนุบาลตาย ไม่มีคนสนใจ
B:นายข.เป็นเพื่อนเรียนมหาวิทยาลัยตาย คนสนใจมาก
C:คนเท่าเทียมกัน เป็นเรื่องเท็จ

พอแทนที่แบบนี้แล้ว รู้สึกว่าขัดสามัญสำนึกอย่างยิ่ง
การที่นายก.ตายแต่ไม่มีคนสนใจ นายข.ตายแต่มีคนสนใจ
มันไม่ได้บ่งเลยว่า นายก.กับนายข.มีความไม่เท่าเทียมในฐานะมนุษย์
อาจคิดได้ว่านายก.มีสังคมแคบกว่านายข.เท่านั้นก็เป็นได้

กลับมาที่ต้นฉบับเดิม:
หากวิเคราะห์แต่เฉพาะอาชีพของคนสองคน
มีลักษณะเป็นนัยอยู่แล้วว่า นายข.เป็นผู้ปกครองประเทศ
ส่วนนายก.เป็นผู้ใต้ปกครอง ย่อมไม่มีความเท่าเทียมในแง่หนึ่ง
แต่ไม่ได้กล่าวว่าไม่เท่าเทียมในฐานะมนุษย์(บริบทกว้าง)

ถ้าวิเคราะห์จากประเด็นความเท่าเทียมของมนุษย์
ต้องยกหลักสิทธิมนุษยชนขึ้นมาอ้าง
แล้วอธิบายว่า มีส่วนไหนที่ไม่เท่าเทียมอย่างไร
หลักสิทธิมนุษยชนกล่าวถึง สิทธิที่คนๆหนึ่งในฐานะมนุษย์จำเป็นต้องได้รับ
เป็นหลักการในแง่ศีลธรรม ไม่ขึ้นกับสังคม วัฒนธรรมและกฎหมาย
(ค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ สิทธิมนุษยชน Human Right)
แต่ก็ยังมีประเด็นปัญหาเรื่องขอบเขตและมาตรฐานของหลักนี้อยู่
เพราะงั้นอาจกล่าวถึงได้แต่หลักการข้อที่กฎหมายบ้านเมืองนั้นรองรับ

อย่างไรก็ตาม  หากพิจารณาในแง่ของเจตนาของผู้ส่งสาร
สังเกตได้จากน้ำเสียงตัดพ้อ ไม่พอใจ และเรียกร้องความสนใจ
มีนัยแฝงความสงสารเห็นใจต่อผู้ที่ไม่สามารถร้องขอได้อย่างขอทาน
การแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกมากเกินไปถือเป็นข้อบกพร่องในการสื่อสาร
เพราะแทนที่จะสื่อออกมาได้อย่างสมบูรณ์ กลับทำให้สารบิดเบี้ยวไปแทน
หากนัยความสงสารนั้นมาจากความคิดล่วงหน้าว่า ใครจะจัดงานศพให้
ใครจะเอาไปเผาผี  ลอยอังคารกลางทะเล  ใครจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้
เพราะในเมื่อไม่มีใครสนใจ  ใครจะมาทำเรื่องที่น่าจำเป็นต่อขอทานผู้โดดเดี่ยว
กลับกัน  หากเป็นนายกรัฐมนตรี  คนจัดการมีมากเป็นกองทัพ คนมารดน้ำศพสะพรั่ง
แน่นอนว่า คนที่กว้างขวางขนาดนั้น ย่อมมีคนรับอาสาจัดการทำให้มาก
ส่วนคุณขอทานนั้น  ขอโทษเถอะ หากเมิงสงสารนัก ก็จัดงานศพให้เค้าดิวะ
ไม่ก็โทรเรียกกู้ภัยโลด  แล้วก็นะถ้าเมิงอยากให้คนสนใจข่าวขอทานตาย
เมิงก็ต้องสร้างสีสันหน่อย  ขอทานแม่งเคยเป็นลูกเมียน้อยนายกมาก่อน
แต่เพราะเป็นลูกเมียน้อย เลยถูกเฉดหัวออกจากคฤหาสน์หลังโต
แล้วก็นะ  ใครจะเชื่อเมิง  แต่รับรองเมิงได้เกิดจากข่าวนี้แน่


จบป่ะ  ยาวสัส  ใครจะมานั่งอ่านว่า ตัวก็เล็ก ตาลายชิบ
นี่คือผลของการเสพงานวิชาการพร้อมกับงานเกรียนๆสินะ

กล่าวสรุปยังเนี่ย  ตายห่า  ลืมกล่าวปิดงาน  งานล่มก่อน
สรุปนะ  ถึงนายฮ. (สมมติชื่อให้ซะ) จะยกเรื่องที่นายอ.กล่าว
อย่างไม่สมเหตุสมผลนัก  แต่ในแง่ของเจตนาแล้ว
ก็ถือว่า น่าสนใจที่คนเราหัดนึกถึง ความเท่าเทียมของผู้อื่น
อย่างน้อยก็ไม่ได้นึกถึงแต่ตัวเอง หรือพวกพ้องของตัวเอง
น่าสนใจตรงเจตนาครับ  แต่อ่อนประสบการณ์ในการอ้างเหตุผล
จบครับ  จบจริงๆล่ะสลัด  จุดพลุหาพ่อง (อันหลังไม่เกี่ยว)
จุดใส่หูบิดาคุณเถอะครับ  ผมนี่ขอร้องจากส่วนลึกของจิตใจ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น